top of page

การสร้างและพัฒนาเครื่องใช้

การสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการทางเทคโนโลยี หมายถึง

การนำเอากระบวนการเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ การรวบรวมข้อมูล การออกแบบการปฏิบัติการ การทดสอบ การปรับปรุงแก้ไข และการประเมินผล ซึ่งเป็ นกระบวนการของระบบเทคโนโลยี ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสิ่งของ เครื่องใช้ และวิธีการซึ่งสามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ง่ายหากพบว่าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมีปัญหา

  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการเมื่อมีปัญหาหรือความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ขั้นแรกที่ต้องทำคือ การทำความเข้าใจปัญหานั้น ๆ อย่างละเอียด หรือก าหนด

ขอบเขตการแก้ปัญหา หรือระบุความต้องการใช้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็ นลายลักษณ์อักษรด้วยข้อความสั้น ๆ แต่มีความชัดเจน เช่น ต้องการชุดโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อใช้พักผ่อนหรืออ่านหนังสือในตอนเย็น

  2. รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ หลังจากก าหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการนั้นๆ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมส าหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่ก าหนดไว้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. รวบรวมข้อมูลจากหนังสือหรือวารสารต่างๆ

  2. ส ารวจตัวอย่างในท้องตลาด

  3. สอบถาม สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครู หรือผู้รู้ในเรื่องที่ต้องการ

  4. ระดมสมองกับสมาชิกในบ้านหรือเพื่อนในกลุ่มเพื่อคิดหาวิธีการ

  5. สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

      3. เลือกวิธีการแกป้ัญหาหรอืสนองความตอ้ งการ การตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่สุด สำหรับแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยน าข้อมูลและความรู้ที่ได้รวบรวมมาพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียในด้านต่างๆ จนได้ข้อสรุปว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการแบบใด โดยมีหลักการในการตัดสินใจเลือกดังนี้

  1. ต้องดีกว่า (Better)

  2. ต้องสะดวกสบายหรือรวดเร็วกว่า (Faster Speed)

  3. ต้องประหยัดกว่า (Cheaper)

  4. ต้องสอดคล้องกับทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่

  5. ต้องมีความปลอดภัย (Safety)

การเลือกการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในกรณีชุดโต๊ะเก้าอี้ให้น าข้อมูลที

ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบทั้งรูปแบบ ราคา ชนิดของวัสดุ ความคงทนและอื่นๆ แล้วตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน และขั้นสุดท้ายเลือกวิธีการ

สร้างชุดโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสมที่สุด

    4. ออกแบบปฏิบัติการขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการออกแบบเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้ การออกแบบจึงเป็นการลำดับความคิดหรือจินตนาการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การเขียนแบบและการลงมือปฏิบัติการตามแบบจนได้สิ่งของเครื่องใช้สำหรับการออกแบบ เริ่มตั้งแต่การรู้จักวางแผนการท างานทุกขั้นตอน รวมถึงการร่างแบบ การเขียนแบบด้วยการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็ น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ รู้จักเลือกใช้วัสดุและวิธีการให้สอดคล้องกับรูปแบบของชิ้นงานและคุณสมบัติของวัสดุที่เลือก

    5. ทดสอบเป็ นการน าสิ่งของเครื่องใช้ที่ท าขึ้นไปทดลองใช้ เพื่อทดสอบว่าสามารถ

ใช้งานหรือท างานได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีข้อบกพร่องในส่วนใดบ้าง หากพบข้อบกพร่องก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข เช่น กรณีชุดโต๊ะเก้าอี้ต้องทดสอบโดยการจัดวางโต๊ะในสถานที่จริง ทดลองนั่งบนเก้าอี้ โดยพิจารณาถึงความแข็งแรงและความมั่นคงของขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ หากมีพนักพิงต้องทดสอบความลาดเอียงด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น

   6. ปรับปรุงแก้ไขหลังจากการทดสอบแล้วพบว่าสิ่งของเครื่องใช้ที่สร้างขึ้นมีข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไข ให้เลือกวิธีการใหม่โดยย้อนกลับไปในขั้นตอนที่ 3 เช่น กรณีชุดโต๊ะเก้าอี้ต้องทดสอบโดยการจัดวางโต๊ะในสถานที่จริง ทดลองนั่งบนเก้าอี้ โดยพิจารณาถึงความแข็งแรงและความมั่นคงของขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ หากมีพนักพิงต้องทดสอบความลาดเอียงด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น

 

   7. ประเมินผลหลังจากการปรับปรุงแก้ไขจนได้ผลงานดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้ว ก็น ามาประเมินผลโดยรวม โดยพิจารณารายละเอียดดังนี้

  1. สิ่งของเครื่องใช้นั้น ๆ สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่

  2. มีความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน เหมาะสมกับการใช้งานมากน้อยเพียงใด

  3. ต้นทุนในการจัดท าสูงกว่าท้องตลาดหรือไม่

  4. มีความสุข ความพึงพอใจในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้นมากน้อยเพียงใด หรือเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเรื่องใดบ้าง

 

 

bottom of page