top of page

การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบี้องต้น

หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น

 

 การสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ในบ้านหรือในส านักงาน ผู้สร้างหรือผู้ประดิษฐ์สามารถพัฒนาต่อยอดให้เครื่องมือ เครื่องใช้เหล่านั้นให้ทันสมัยและสะดวกสบายต่อการใช้งานมากขึ้นด้วยการน ากลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาประกอบจนเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ หากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบ วิธีการ และส่วนประกอบต่างๆ ก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้คำว่า “ผลิตภัณฑ์ (Product)” ในทางตลาดหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่นักการตลาดน ามาเสนอกับตลาดหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ ผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายในท้องตลาดมี 2 ลักษณะดังนี้ 

 

1. สิ่งที่เป็นรูปธรรม คือ สิ่งที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างหรือมีคุณสมบัติทางกายภาพสัมผัสได้ เช่น เครื่องจักรกล เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอาคารและสถานที่ต่างๆ

 

2. สิ่งที่เป็นนามธรรม คือ สิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น การให้บริการ เทคโนโลยีทางด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างหรือมีคุณสมบัติทางกายภาพสัมผัสได้ เช่น เครื่องจักรกล เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้องค านึงถึงหลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น โดยการวิเคราะห์ที่จุดมุ่งหมายในการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ การออกแบบ คือ ศาสตร์แห่งการแก้ปัญหาที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยน าความรู้ ทักษะ และหลักการทางศิลปะมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ท าให้เกิดความสวยงามและมีประโยชน์ใช้สอย ดังนั้น จุดมุ่งหมายในการ

 

ออกแบบชิ้นงานจะต้องสามารถตอบค าถามได้ 5 ประการ ดังนี้ 

 

1. ชิ้นงานนี้ใช้ทำอะไร (What to do) ผู้ออกแบบจะต้องค านึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นจุดมุ่งหมายแรกของการออกแบบ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีดังนี้ 

 

  1.1 การออกแบบเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ได้แก่ การออกแบบที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร อุปกรณ์ส านักงานต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางรองเท้า เป็นต้น ประโยชน์เหล่านี้จะเน้นประโยชน์ทางกายภาพโดยตรง 

 

  1.2 การออกแบบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ที่มักจะเน้นเรื่องการสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพที่สามารถรับรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบชิ้นงานลักษณะนี้จ าเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชน เพื่อให้เกิดความศรัทธาเชื่อถือและการยอมรับตามสื่อที่

 

2. ทำไมต้องมีหรือต้องทำชิ้นงานนี้ (Why to do) เพราะการออกแบบมีคุณค่าต่อการดดำรงชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และเจตคติ มีความส าคัญต่อการด าเนินชีวิตของเราที่เด่นชัด 3 ประการ

 

  2.1 เป็นการวางแผนการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การท างานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา การออกแบบจึงเป็นการวางแผนการท างานที่ดี 

 

  2.2 เป็นการนำเสนอผลงาน ผลงานการออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในผลงานตรงกันอย่างชัดเจน เป็นการสื่อความหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน 

 

  2.3 เป็นการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน เพราะงานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานการออกแบบจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นมีความเข้าใจในงานที่ซับซ้อนนั้นชัดเจนขึ้น เพราะผลงานการออกแบบ คือ สิ่งที่แสดงความคิดของผู้ออกแบบ

 

3. ใครเป็นผู้ใช้ (For whom) แบบแต่ละแบบจะมีความส าคัญมากถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตชิ้นงานหรือผู้ผลิตชิ้นงานเป็นคนละคนกัน จึงมีการเปรียบเปรยกันว่านักออกแบบเหมือนกับคนเขียนบทละครให้ผู้แสดงได้แสดงไปตามบทนั้นๆ เช่น การออกแบบในงานก่อสร้าง ผู้ออกแบบ คือ สถาปนิก ส่วนผู้ใช้แบบคือช่างก่อสร้าง ส่วนการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ใช้แบบคือผู้ผลิตใน

 

โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

 

4. ใช้ที่ไหน (Where to use) การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นการออกแบบเพื่อน ามาใช้สอยในชีวิตประจ าวัน โดยเน้นการผลิตจ านวนมาก ๆ ในรูปสินค้าหลากหลายชนิดตามความต้องการของผู้บริโภคในวงกว้าง ดังนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงถูกน าไปใช้ในโรงงานที่ท าหน้าที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ในประเทศ ออกแบบ โรงงานอุตสาหกรรม/ผู้ผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ ต่างประเทศ แผนผังการน าแบบผลิตภัณฑ์ไปใช้ 

 

5. เมื่อไหร่จึงใช้ (When to use) วิถีชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตายมีความสัมพันธ์กับการออกแบบทั้งสิ้น เพราะการด ารงชีวิตประจ าวันของเรานั้นจะต้องมีการวางแผนหรือก าหนดขั้นตอนต่างๆ ให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส าหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นจะถูกน าไปใช้เมื่อเกิดปัญหาหรือความต้องการแก้ปัญหาในการท างานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะเกิดขึ้นเมื่อต้องการบรรจุภัณฑ์มาใช้บรรจุสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรจุภัณฑ์นั้นเป็นวัสดุห่อหุ้มสินค้า และเป็นสื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สินค้า จึงมีวิธีการที่ท าให้เกิดชิ้นงานบรรจุภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนด

 

  5.1 เขียนโครงการจัดท าหรือผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เช่น เพื่อห่อหุ้มสินค้า เพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า 

 

  5.2 ศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันที่มีอยู่ในท้องตลาด แล้ววิเคราะห์ข้อดี – ข้อด้อยของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ 

 

  5.3 ก าหนดกรอบของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ ทั้งเรื่องวัสดุที่ใช้ ขนาด และงบประมาณโดยน าข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดมาใช้ 

 

  5.4 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามกรอบที่ก าหนดไว้และตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ รูปร่าง สีสัน ความสะดวกในการใช้งาน ตัวอักษร และรูปภาพที่ใช้เป็นสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ พร้อมกับลงมือปฏิบัติการสร้างบรรจุภัณฑ์ตนแบบ 

 

  5.5 น าบรรจุภัณฑ์ต้นแบบไปทดสอบการใช้งานเพื่อหาข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม

 

  5.6 หากพบว่าบรรจุภัณฑ์ต้นแบบมีข้อบกพร่องในส่วนใดให้น ามาปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนต่างๆ ลงไป เพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีคุณภาพดีแต่ต้นทุนน้อยที่สุด แล้วจึงลงมือผลิตบรรจุภัณฑ์ออกมาใช้งาน 

 

  5.7 ประเมินผลการใช้บรรจุภัณฑ์ โดยพิจารณาจากประสิทธิภาพในการใช้งานจ านวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ ตลอดจนค าวิจารณ์จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าที่ห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ ดังกล่าว

bottom of page